คอสเพลย์คืออะไร
คอสเพลย์ (Cos play หรือ Cos’Play) เป็นการผสมคำภาษาอังกฤษระหว่างคำว่า Costume ซึ่งแปลว่า เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และ Play ที่แปลว่า การเล่นดังนั้น Costume + Play จึงแปลตรงๆว่า การเล่นเสื้อผ้า แต่นิยามให้คำจำกัดความชัดเจนที่สุดคือ “การแต่งกายเลียนแบบ” ในพจนานุกรมของ Oxford ได้ระบุว่า Cosplay หมายถึง
“The practice of dressing up as a character from a film, book, or video game, especially one from the Japanese genres of manga or anime.”
“รูปแบบการแต่งกายเป็นเหมือนกับตัวละครจากภาพยนตร์ หนังสือ หรือ วิดีโอเกม โดยเฉพาะที่มาจากหนังสือการ์ตูนหรืออนิเมประเทศญี่ปุ่น”
มีอีกหนึ่งนิยาม ที่ได้เคยมีคนให้นิยามไว้ว่า Cosplay มาจาก Costume+Roleplay ซึ่งคำว่า Roleplay นี้แปลว่า สวมบทบาท ซึ่งก็จะทำให้นิยามความหมายได้กระชับขึ้น คือ “การแต่งกายสวมบทบาท” (แต่ทั้งนี้ Cosplay = Costume + Play ก็ยังถือว่าเป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับในทางสากลมากกว่าอยู่ดี) สำหรับการมีการใช้คำว่า Cosplay อย่างชัดเจนที่สุดเกิดขึ้นเมื่อ Nobuyuki Takahashi (ซึ่งมาจากสตูดิโอ Studio Hard ของญี่ปุ่น) บัญญัติศัพท์คำว่า “Cosplay” ขึ้นมาเพื่อเป็นการย่อคำจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษคำว่า Costume Play เมื่อตอนที่แสดงงานเมื่อ ค.ศ. 1983 (พ.ศ.2526) ณ งาน Los Angeles Science Fiction (Worldcon) ซึ่งเค้าได้บอกว่าเป็นชุดที่มีในหนังสือนวนิยายวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น
ที่มา : http://www.wowbestsale.com/attachments/product/images_1-2121811.jpg
แม้ว่า Cosplay จะมีความเกี่ยวโยงกับความเป็นญี่ปุ่นค่อนข้างมากแต่การคอสเพลย์ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่เรื่องของญี่ปุ่นแต่อย่างใด จริงๆแล้ว การคอสเพลย์ไม่ได้จำกัดเรื่องของเชื้อชาติต้นแบบใดเลย การแต่งกายเลียนแบบ Superhero หรือตัวละครจากฝั่งตะวันตก เช่น Superman, Batman หรือการแต่งกายเลียนแบบศิลปินเช่น Elvis ก็จัดได้ว่าเป็นการคอสเพลย์ในรูปแบบหนึ่ง เช่นกัน
Cosplay ในปัจจุบันนั้น นิยามที่ชัดที่สุดคือ “การแต่งกายเลียนแบบ” โดยเป็นการเลียนแบบตัวละคร หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น การ์ตูนเกม วงดนตรี นวนิยาย Visual Kei วงศิลปิน ภาพยนตร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความชอบ ในสิ่งที่ได้เลียนแบบนั้นๆ ทั้งนี้นอกจากเลียนแบบชุดแต่งกายแล้ว ยังอาจจะรวมไปถึงเลียนแบบกิริยา ท่าทาง บุคลิก ต่างๆของต้นแบบอีกด้วย โดยผู้ที่คอสเพลย์นั้นมักเรียกว่า เลเยอร์ หรือย่อมาจาก Cosplayer นั่นเอง
สำหรับในไทยนั้น ที่นิยมมากที่สุด เช่น
คอสเพลย์การ์ตูน
คอสเพลย์เกม
คอสเพลย์ J-Rock
คอสเพลย์ตามศิลปิน
คอสเพลย์ตามตัวละครซุปเปอร์ฮี่โร่
คอสเพลย์ตามนิยาย
คอสเพลย์ตามภาพยนตร์หรือละคร
ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะมีการแบ่งประเภทของคอสเพลย์ แต่ก็เป็นเพียงการแบ่งเพื่อสะดวกในการเรียกหมวดหมู่เท่านั้น โดยละประเภทนั้นก็จะมีจุดเชื่อมโยงที่บางครั้งก็สามารถรวมเข้าด้วยกัน ได้ เช่น Harry Potter ที่แต่ต้นนั้นเป็นนิยาย แต่ต่อมาก็ได้สร้างเป็นภาพยนตร์ การคอสเพลย์ Harry Potter จึงเป็นการคอสเพลย์ทั้งนิยาย และภาพยนตร์ไปในตัวได้เลย เป็นต้น การแต่งกายเลียนแบบนั้น อาจจะมีทั้ง แต่งกายให้เหมือนทั้งหมด หรือ ดัดแปลงเล็กน้อย เน้นประยุกต์สร้างสรรค์ แต่ยังคงเอกลักษณ์ของตัวที่เลียนแบบนั้นๆ
องค์ประกอบที่ระบุชัดถึงความเป็นคอสเพลย์ในการที่จะเรียกว่าเป็นคอสเพลย์ได้นั้น จะมีองค์ประกอบต่างๆกัน ทั้งที่เป็นรูปธรรม และ นามธรรม ทั้งนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีครบก็ได้เพียงแต่ว่า หากขาดบางอย่างมากไป การคอสเพลย์ตามนิยามที่แท้จริงนั้นก็อาจจะหายไป
ชุดคอสเพลย์
เป็นองค์กระกอบรูปธรรม นั่นคือ เครื่องแต่งกายที่จะแสดงให้เห็นถึงการแต่งกายเลียนแบบ คำว่าชุดคอสเพลย์นั้น ไม่ได้หมายถึง ชุดที่แปลกตา อลังการ แต่หมายถึงชุดที่เหมือนกับต้นแบบ เพราะต้นแบบนั้นไม่ได้มีชุดที่อลังการเสมอไป และยังรวมไปถึงส่วนอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อุปกรณ์เสริมคอสเพลย์
ความรักและความชอบ
เป็นองค์ประกอบนามธรรม เพราะคอสเพลย์แต่ต้นคือ การแสดงออกถึงความรักความชอบต่อตัวนั้นๆ จึงได้แต่งกายเลียนแบบ กล่าวคือ หากมีคนที่ไม่ได้ชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้ชุดคอสเพลย์มาใส่ เมื่อพบก็จะเห็นได้ว่าเป็นคอสเพลย์ แต่ก็จะไม่สามารถแสดงออกสื่อถึงถึงตัวละครนั้นๆได้ เช่น การ โพสท่า การแสดงกิริยาของตัวละครนั้นๆ)
ความเหมือน การเลียนแบบ
เป็นนิยามที่เป็นเอกลักษณ์ของคอสเพลย์ นั่นคือ การแต่งกายเลียนแบบ หากไม่มีสิ่งนี้ คอสเพลย์อาจจะไม่ต่างกับการแต่งชุดแฟนซีทั่วไปได้ ทั้งยังรวมไปถึงการเลียนแบบ บุคลิก ท่าทาง ของตัวละครอีกด้วย
งานคอสเพลย์ครั้งแรกของประเทศไทย
สำหรับจุดเริ่มต้นของคอสเพลย์ในไทยนั้น ต้องแบ่งเป็น 2 แบบ นั่นคือ งานแรกที่มีลักษณะของคอสเพลย์ในงาน กับงานแรกที่ใช้คำว่าคอสเพลย์สำหรับงานแรกที่มีลักษณะคอสเพลย์ในไทยนั้น เท่าที่ระบุได้เก่าที่สุด คือ งาน “งานมหกรรมช่อง 9 การ์ตูน ส่งท้ายปี 2525 รับปีใหม่ปี 2526″ ณ บริเวณลานจอดรถของสถานีโทรทัศน์สีช่อง 9 ซึ่งมีการเปิดประกวดแต่งกายตัวการ์ตูน โดยมีเด็กๆได้เข้าประกวดเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยว่าสมัยนั้น ในประเทศไทยยังไม่ได้มีการนำคำว่า “คอสเพลย์” มาใช้ โดยใช้เพียงแค่ว่า “ประกวดการแต่งกาย”
ที่มา : http://www.deviantart.com/morelikethis/401225319
ที่มา : http://www.propsops.com/